มารดาหลังคลอด (puerperium’s) คือ มารดาที่คลอดบุตรระยะเวลาตั้งแต่หลัง
คลอดไปจนถึงระยะที่อวัยวะต่างๆของมารดากลับสู่สภาพปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยมารดาหลังคลอด คือ ภาวะที่ทำให้ธาตุในร่างกาย ทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เสียสมดุลหลังจากคลอดบุตร อาจส่งผลให้มารดา ไม่สบายตัว ปวดตามร่างกายหรืออาจมีอาการคัดเต้านมร่วมด้วย
ซึ่งการดูแลมารดาหลังคลอด จะเป็นการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของมารดา ทำให้ธาตุทั้ง 4 กลับมาอยู่ในภาวะปกติ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
- ลดการปวดของกล้ามเนื้อตามร่างกาย
- ลดการคัดเต้านม
- ช่วยกระตุ้นเลือดให้ไหลเวียนได้ดี
- ช่วยขับน้ำคาวปลาหรือทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น
ขั้นตอนในการดูแลมารดาหลังคลอด
- การรักษาด้วยการหัตถเวช เป็นการคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ลดอาการปวด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดได้อีกด้วย
- การทับหม้อเกลือ เป็นการช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ช่วยขับน้ำคาวปลา และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งการทับหม้อเกลือนั้น ยังช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดอาการปวดตามกล้ามเนื้อได้
- การอบสมุนไพร โดยความร้านจากไอน้ำ จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยขับน้ำคาวปลาและกลิ่นของสมุนไพรสามารถช่วยให้สดชื่น และทำให้สบายตัวมากขึ้น
การดูแลเต้านม
ภายหลังการคลอด กลไกของร่างกายจะกระตุ้นให้มีน้ำนม อาจเกิดการตึงคัดบริเวณเต้านม ควรให้บุตรดูดนมหรือปั๊มนมออก เต้านมจะนิ่มลงบ้างและไม่เจ็บ หากพบความผิดปกติ เช่น คลำเต้านมพบก้อนแข็ง หรือน้ำนมออกน้อยหรือมีน้ำนมน้อย ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีวิธีดูแลดังนี้
- ใช้ความร้อนประคบตามเต้านม เพื่อลดการอุดตันของท่อน้ำนม
- ใช้การรักษาด้วยการหัตถเวช เพื่อนวดกระตุ้นน้ำนม การนวดเปิดท่อน้ำนม รวมถึงการทานยาได้อีกด้วย
- ซึ่งหากน้ำนมน้อยสามารถรักษาด้วยการทานยาได้เช่นกัน